วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 15.



สัปดาห์ที่ 14.

แผนการสอน

กาวัดและประเมิดผล


การที่ผู้เรียนทำการประเมินผลตัวเองนั้นเท่ากับว่าผู้เรียนได้ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ที่สำคัญหน้าที่หนึ่งของครูผู้สอน แต่โดยปรกติแล้วผู้เรียนมักจะต้องการให้ผู้สอนตรวจแก้ข้อผิดและให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของตนด้วย โดยการเรียนรู้ไม่ใช่กระบวนการที่ผู้เรียนจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวที่ผู้เรียนจะเรียนแค่สิ่งที่ผู้สอนเขียนหรืออธิบายบนกระดานดำเพียงเท่านั้น หากแต่ตัวผู้เรียนเองยังต้องพยายามเข้าใจและปรับใช้องค์ความรู้เหล่านั้นด้วยตัวเองให้ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้เรียนทุกคนจึงควรที่จะสามารถกำหนดแนวทางการเรียนรู้ของตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือไม่ก็ตาม โดยผู้เรียนต้องรู้เองว่าพวกเขาได้บรรลุเป้าหมายทางการเรียนของเขาแล้วหรือไม่ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวอาจมาจากการตั้งเป้าหมายของตัวผู้เรียนเองหรือมาจากปัจจัยภายนอกก็ได้ เช่น การทำแบบฝึกหัดได้ การเรียนจบคอร์ส หรือการสอบผ่าน

เกณฑ์ประเมินที่ชัดเจนมีส่วนช่วยในการประเมินผลตัวเอง
การประเมินผลด้วยตัวเองถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความรู้จักกับจุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงการปรับพฤติกรรมการเรียนให้เข้ากับจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การบันทึกสิ่งผู้เรียนเข้าใจออกมาเป็นตารางเหมือนเช็คลิสต์แบบ European Language Portfolio  ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถประเมินระดับภาษาได้ด้วยตัวเองและรับทราบถึงสิ่งที่ผู้เรียนควรจะแก้ไขหรือยังสามารถพัฒนาต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้เรียนคนหนึ่งอาจรับรู้ว่าทักษะการอ่านของตนสูงกว่าทักษะอื่นๆ ทางภาษา

การทำเช็คลิสต์ประเมินความสามารถเป็นกิจกรรมที่เป็นที่รู้จักในการเรียนการสอนภาษา โดยกลุ่มผู้สอนภาษาหลายกลุ่มก็ได้นำรูปแบบการประเมินผลดังกล่าวมาปรับใช้ในช่วงท้ายของบทเรียนเพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนนั้นๆ มากน้อยแค่ไหน โดยผู้เรียนจะสามารถเลือก ขีดช่องทักษะที่ตัวเองเข้าใจ ช่องที่ตัวเองต้องการเรียนรู้เพิ่มหรือช่องที่ตัวเองต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้

นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างเกณฑ์การประเมินผลสำหรับแบบฝึกหัดอื่นๆ ได้ด้วยเช่น การนำเสนอผลงาน การเขียนแผ่นพับหรือการเขียนเรียงความ เป็นต้น โดยเกณฑ์ดังกล่าวจะมีประโยชน์กับตัวผู้เรียนอย่างชัดเจนและให้ผู้เรียนเห็นผลถึงสองทางด้วยกัน โดยเฉพาะการเตรียมตัวทำข้อสอบ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนได้ทำการประเมินผลตามเกณฑ์ในแบบฝึกหัดการเขียนมาแล้ว ผู้เรียนก็จะรับทราบจุดด้อยของตัวเองและสามารถฝึกเขียนตามจุดที่ตัวเองยังไม่ถนัดได้ การคำนึงถึงจุดด้อยของตัวเองดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในระหว่างการทำข้อสอบที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าไปช่วยผู้เรียนได้อีกด้วย โดยเกณฑ์ดังกล่าวจะเปรียบเสมือนตัวควบคุมให้ผู้เรียนระวังจุดด้อยหรือข้อผิดพลาดที่ตัวเองมักทำในข้อสอบได้

แต่ผู้เรียนก็มักจะต้องการคำอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินผล ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้มีหน้าที่ในการอธิบายเกณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยการยกตัวอย่างประโยค การใช้ตัวอย่างบทความ หรือตัวอย่างการแก้ปัญหาในแบบทดสอบ เพื่อให้ผู้เรียนรับทราบถึงจุดด้อยที่ตัวเองยังต้องพัฒนา และสามารถประเมินผลตัวเองได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เรียนทำการประเมินผลด้วยตัวเองผ่านเกณฑ์ที่ระบุไว้แล้วอาจไม่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเองได้อย่างเต็มที่เพราะเกณฑ์ดังกล่าวอาจไม่รวมถึงจุดที่มีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่ผู้เรียนจะสามารถตั้งเกณฑ์ การประเมินให้กับตัวเองได้นั้น ผู้เรียนต้องทราบว่าผู้เรียนสามารถประเมินจุดไหน อย่างไร นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ คุณ Karin Kleppin จึงแนะนำ การประเมินผลด้วยตัวเองในระดับย่อย ซึ่งเป็นเหมือนแบบฝึกหัดย่อยสำหรับผู้เรียนก่อน โดยผู้เรียนจะได้รับเกณฑ์ประเมินผลกลุ่มหนึ่งสำหรับแบบฝึกหัดหนึ่ง ในขั้นแรกผู้เรียนแต่ละคนจะต้องขีดตามช่องเกณฑ์ที่ผู้เรียนคิดว่าเขาสามารถประเมินเกณฑ์นั้นๆ ด้วยตนเองได้ หลังจากนั้นผู้ทำแบบประเมินช่วงแรกจะมารวมตัวกันเพื่อคุยกันเป็นกลุ่มว่าเกณฑ์ไหนสามารถประเมินได้ และหากประเมินได้เราสามารถประเมินได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น “ฉันได้ตรวจแก้คำที่ฉันเขียนผิดบ่อยๆ หลังจากทำแบบฝึกหัดเสร็จ” เป็นเกณฑ์ที่ประเมินได้ง่ายกว่า “ฉันไม่ได้เขียนคำผิดเลย” โดยเกณฑ์แรกเป็นเกณฑ์ที่ช่วยแนะนำการพัฒนากระบวนเรียนรู้ อีกทั้งยังคำนึงข้อผิดพลาดของผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วย

วิธีที่เป็นที่นิยมในการประเมินผลตนเอง
วิธีที่เป็นที่นิยมในการประเมินผลตนเอง | Foto: © Willing-Holtz – plainpictureการทำให้การพัฒนาทักษะของเห็นผลชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ การทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงพัฒนาการของตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งจุดประสงค์หลักของการประเมินผลด้วยตัวเองอีกด้วย การตระหนักดังกล่าวจะเป็นเหมือนแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในระดับที่แตกต่างกันมาก โดยการประเมินผลด้วยตัวเองก็มีประโยชน์สำหรับผู้เรียนภาษาในระดับสูงเช่นกัน เพราะผู้เรียนกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยสังเกตการพัฒนาการทางด้านภาษาของตน การประเมินผลสามารถทำได้ด้วยกิจกรรมต่างๆต่อไปนี้
การให้ผู้เรียนเขียนเรียงความสั้นๆ ในเวลาไม่กี่นาทีในหัวข้อที่คุ้นเคยอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้เรียนแต่ละคนจะต้องนับจำนวนคำที่เขียนหลังจากเขียนเสร็จและรวบรวมจำนวนดังกล่าวมาทำเป็นกราฟแบบง่ายๆ หลังจากทำแบบฝึกหัดนี้เป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ผู้เรียนจะสังเกตเห็นได้ชัดว่าเขียนได้ลื่นไหลและใช้คำศัพท์ในการเขียนได้มากขึ้น ผู้สอนสามารถใช้วิธีประเมินผลอื่นๆ มาประกอบได้ด้วยเพื่อวัดระดับการพัฒนาการเขียนในด้านอื่นๆ เช่น การใช้คำและประโยคที่เข้าใจง่ายและถูกต้อง
การให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดที่ใช้เวลานานอีกหนึ่งรอบ หลังจากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละคนนำผลลัพธ์ของแบบฝึกหัดทั้ง สองรอบมาเทียบเคียงกันและจดบันทึกจุดที่ผู้เรียนทำได้ดีกว่าการทำแบบฝึกหัดรอบแรก
การให้ผู้เรียนรวบรวมสื่อประกอบการเรียนต่างๆ ที่ใช้ในห้องเรียนเช่น อีเมล์ บทสรุปเนื้อหา ตัวอย่างบทสนทนาหรือไฟล์เสียงที่ใช้ฝึกฟัง และนำเอกสารเหล่านี้มาเรียงต่อๆ กันให้เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้ของตัวเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การประเมินผลด้วยตัวเองมีผลต่อการเรียนการสอนโดยรวมด้วย
หลังจากที่ผู้เรียนทำการประเมินผลด้วยตัวเองเสร็จและทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้เรียนมักจะต้องการปฏิกิริยาตอบรับจากตัวผู้สอน ซึ่งผู้สอนก็อาจจะให้คำแนะนำเป็นตัวบุคคลหรือเสนอกิจกรรมและแบบฝึกหัดในการแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าว ในปัจจุบันมีการนำแนวการสอนที่ชื่อว่า Fide ที่เน้นการจำลองสถานการณ์มาใช้ในการสอนภาษาต่างประเทศตั้งแต่ระดับเริ่มต้นถึงระดับกลาง (B1) โดยเราได้ค้นพบว่าการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและการประเมินผลด้วยตัวเองของผู้เรียนสามารถช่วยพัฒนาและแก้ไขจุดอ่อนของผู้เรียนแต่ละคนได้

การที่ผู้เรียนเข้าใจถึงเกณฑ์การประเมินผลสำหรับการประเมินตนเองยังทำให้กระบวนการประเมินผลการเรียนการสอนทั้งหมดมีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะผู้เรียนจะสามารถเข้าใจการประเมินผลของผู้สอนได้เช่นกัน โดยการแบ่งจำแนกเกณฑ์ประเมินผลเป็นเกณฑ์ย่อยๆ จะช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจในการเรียนและยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการเรียนของตนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ การประเมินผลด้วยตัวเองยังเปรียบเสมือนการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้เพิ่มเติมหลังเรียนจบและการแสวงหาความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะผู้เรียนจะสามารถเลือกเกณฑ์และวิธีที่เหมาะสมในการประเมินการพัฒนาการของตนเองและเอาผลลัพธ์มาปรับใช้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้

อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรนำการประเมินผลด้วยตัวเองของผู้เรียนมาแทนที่การประเมินผลจากตัวผู้สอนหรือการสอบทั่วไปเลยสักทีเดียว แต่ควรนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ยกตัวอย่างเช่น การสอบวัดระดับทางภาษาที่ชื่อ Dialang ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างการประเมินผลด้วยตัวเองกับคำถามในข้อสอบแบบทั่วไป และผู้สอบจะได้รับคำแนะนำจากตัวผู้สอนพร้อมกับผลสอบเป็นตัวรับรองความสามารถของตนเองอีกด้วย ผลลัพธ์ที่ได้คือการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในการพัฒนาการเรียนรู้และขีดความสามารถของผู้เรียน โดยทั้งสองฝ่ายจะสามารถกำหนดและตกลงวัตถุประสงค์และแนวทางการเรียนรู้ร่วมกันได้

แผนการจัดการเรียนรู้


แผนการสอน หมายถึงแผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้คือ แผนการเตรียมการสอนหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การเขียนแผนการจัดการสอน



แผนการจัดการเรียนรู้เป็นผลงานการปฏิบัติงานของครูที่ครูทุกคนต้องมี   และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ตนรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวัง  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละรายวิชาครูต้องศึกษา   ค้นคว้า  รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบ  มีขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ                 ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย    ช่วงชั้นที่ ๔   ได้ศึกษา  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชาที่ได้รับมอบหมายในการสอนแต่ละปี   และได้ปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง   มีผลงานเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูและผู้บริหารทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนผลสำเร็จ
                ๑.  มีแผนการจัดการเรียนรู้ใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
                ๒.  สามารถใช้เป็นแนวทางนิเทศการจัดทำแผนการเรียนรู้แก่ครูในโรงเรียน

วิธีการ/กิจกรรม
               ๑.  ศึกษารูปแบบ   องค์ประกอบ ขั้นตอน และตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจน
              ๒.  ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา   เกี่ยวกับ คุณภาพผู้เรียน     สาระ   มาตรฐานช่วงชั้น  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   สาระการเรียนรู้   และการวัดผลประเมินผล
              ๓. ดำเนินการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้   โดย 
                       ๑)   ยกร่างแผนการจัดการเรียนรู้ตามรายวิชาที่สอน และตรวจสอบความถูกต้องด้านขั้นตอน   องค์ประกอบ  ด้วยตนเอง   ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๑ 
                       ๒)  นำยกร่างฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑  ไปให้หัวหน้ากลุ่มสาระตรวจสอบ  นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 


                        ๓)  จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนรู้  และนำไปใช้สอนจริงในห้องเรียน   นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงพัฒนา 

                        องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
                       ๑.   สาระสำคัญ 
                       ๒.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                        ๓.  สาระการเรียนรู้ 
                       ๔.  กิจกรรมการเรียนรู้ 
    ขั้นนำ  ใช้  คำถามสำคัญเป็นการกระตุ้นผู้เรียน
   ขั้นสอน   เน้นการลงมือฝึกปฏิบัติ จริง   กระบวนการกลุ่ม  นักเรียนมี ชิ้นงานที่เกิดจากการปฏิบัติ มีการประเมินการเรียนรู้  ก่อนเรียน  ระหว่างเรียนและหลังเรียน
 ขั้นสรุป    นักเรียนได้สรุปองค์ความรู้และตอบคำถามสำคัญที่ครูต้องการ ให้เกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                        ๕.  สื่อและแหล่งเรียนรู้ 
                        ๖.  กระบวนการวัดผลประเมินผล

แนวทางการวางแผนการสอน


พยายามเก็บเล็กผสมน้อยจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการบ้าง  รับฟังจากผู้รู้บ้าง รวมถึงประสบการณ์ที่ได้เคยปฏิบัติด้วยตนเองมาบ้างแล้ว  จึงอยากนำสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูที่สนใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนของตนเองบ้างซึ่งอาจจะทำได้หรือทำไม่ได้แตกต่างกันไป ก็คงสุดแล้วแต่บริบทของแต่ละสภาพผู้เรียนและผู้สอน รวมถึงสภาพแวดล้อมพื้นถิ่นของการจัดกิจกรรม  ลองพิจารณาดูก็แล้วกัน
ลักษณะการเรียนการสอนที่ดี  มีดังต่อไปนี้
1. ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. ต้องเป็นที่น่าสนใจ  ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5. ต้องดำเนินไปด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  โดยการปฏิบัติจริง
9. ต้องสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้
10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ต้องสามารถเข้าใจผู้เรียน
12. ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
13. ต้องไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14.   การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร  (Dynamic)  คือ  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ  เนื้อหาสาระ  เทคนิควิธี  ฯลฯ
15.   ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16.   ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

         
ดังนั้น การเรียนรู้ของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นถ้าผู้วางแผนการเรียนรู้ได้คำนึงถึงลักษณะการเรียนรู้ที่ดี วิธีการเรียนรู้หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หลักการสอนที่มีประสิทธิภาพและลักษณะการเรียนการสอนที่ดี  ดังที่นำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป

ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน


รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136 – 137)
1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3. เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอแนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้วเพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง 3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน

9.2 ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะสอน ก่อนสอน และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด

ความจำเป็นของการวางแผนการสอน


ความจำเป็นในการวางแผน
1. เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางสังคม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เศรษฐกิจ
2. เพื่อให้องค์การมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่เปลี่ยนไป มีผลกระทบต่อองค์กรเช่นการผลิต สินค้า+บริการ การตลาด การเงิน จนถึงทรัพยากรบุคคล ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผน
3. เพื่อให้องค์กรมีแนวทางในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆด้านคน ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกฝึกอบรมเลื่อนตำแหน่งโอนย้ายให้เงินเดือนและสวัสดิการการพ้นออกจากองค์การ มันจะมีความสัมพันธ์กันอยู่และต่อเนื่อง
4. เพื่อให้ได้คนที่มีคุณภาพ 
ขั้นตอนที่๑ การเตรียมการ(การศึกษาวัตถุประสงค์ขององค์กร,  วิเคราะห์สถานการณ์, กำหนดเป้าหมายของแผนงาน,  พิจารณาความสอดคล้องความเป็นไปได้
ขั้นตอนที่๒ การสร้างแผน  (กำหนดทางเลือก, เลือกทางเลือกที่เหมาะสม, กำหนดแผน)
ขั้นตอนที่๓  การปฏิบัติตามแผน (การกำหนดบุคลากรให้รับผิดชอบงานแต่ละส่วน,การจัดสรรคน, การสร้างความเข้าใจ, การควบคุม)
ขั้นตอนที่๔ การประเมินผล  (เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับการวางแผน ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อมาวิเคราะห์และปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น,  วิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดและพยายามค้นหาสาเหตุที่แท้จริง, เสนอความคิดในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)

วิธีการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนของทรัพยากรบุคคล
1  การคาดการณ์จากสมการพื้นฐาน  จำนวนคนที่ต้องการคนเพิ่มขึ้น=จำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด-จำนวนคนคงเหลือจำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด=จำนวนงาน/อัตราส่วนของงานต่อคน

2การใช้แบบจำลองการวางแผนรวม

3การใช้วิธีทางสถิติ

4การใช้แบบจำลองของมาร์คอฟ

วิธีการทั้ง4 จะขึ้นอยู่กับระยะเวลา ลักษณะข้อมูล ค่าใช้จ่าย  ความแม่นยำ และความง่ายในการนำไปใช้

ความสามารถของการวางแผนการสอน


          แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2543,
หน้า 1)
          เอกรินทร์ สี่มหาศาล (2545, หน้า 409) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) เป็นวัสดุหลักสูตรที่ควรพัฒนามาจากหน่วยการเรียนรู้ (UNIT PLAN) ที่กำหนด ไว้ เพื่อให้การจัดการสอบบรรลุเป้าประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนโครงร่าง หรือพิมพ์เขียวที่กล่าวถึงประสบการณ์การเรียนรู้ตามหัวข้อการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดผลที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ส่วนแผนการเรียนรู้จะแสดงการจัดการเรียนรู้ตามบทเรียน (lesson) และประสบการณ์การเรียนรู้เป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามกำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม  
          กรมวิชาการ (2546, หน้า 1 - 2) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนซึ่งครูเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ แผนการวัดผลประเมินผลโดยการวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชาหรือหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ที่กำหนด อันสอดคล้อง กับมาตรฐานการเรียนรู้
ช่วงชั้น
          แผนการจัดการเรียนรู้ หรือแผนการเรียนรู้  เป็นคำใหม่ที่นำมาใช้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เหตุที่ใช้คำ “แผนการจัดการเรียนรู้” แทนคำ “แผนการสอน” เพราะต้องการให้ผู้สอนมุ่งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่บ่งไว้ในมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด” (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2546, หน้า 213)
           แผนการจัดการเรียนรู้ คือ แผนการเตรียมการสอนหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ (สุวิทย์ มูลคำ, 2549, หน้า 58)             


          แผนการสอนเป็นแผนที่กำหนดขั้นตอนการสอนที่ครูมุ่งหวังจะให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหา และประสลการณ์หน่วยใดหน่วยหนึ่งตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์ (อ้างถึงใน ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2532, หน้า 187)
          แผนการสอน คือการนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน และการวัดผลประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนย่อยๆ 
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริงในโรงเรียน วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (อ้างถึงในสงบ  ลักษณะ, 2533, หน้า 1)
          จากความหมายข้างต้นสรุปว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นจากคู่มือครูทำให้ทราบว่าจะสอนเนื้อหาใด อย่างไร
ใช้สื่อการเรียนอย่างไร มีการประเมินอย่างไร



วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้

ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง (กรมวิชาการ. 2545 : 3)นิคม ชมภูหลง (2545 : 180) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและประเมินผล
4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 13.

การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้
ความสามารถของการวางแผนการสอน
ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
แนวทางการวางแผนการสอน
การเขียนแผนการจัดการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้
กาวัดและประเมิดผล
PowerPoint

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา

การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
            การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี จะต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลหรือหน่วยงานในชุมชน ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระหน้าที่สำหรับทุกคน การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือบุคลากรทุกฝ่ายอาจดำเนินการได้หลายทาง ได้แก่
1. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ 
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เพราะการเป็นกรรมการไม่ใช่เรื่องของอภิสิทธิ์ส่วนตัว แต่เป็นภาระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรรมการมีหน้าที่กำกับ ดูแล ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
ดังนั้น กรรมการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน การบริหารและการจัดการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพ การจัดทำหลักสูตร การประเมินคุณภาพการศึกษา การระดมทรัพยากรการเงินและบุคคลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้เข้าใจบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง สถานศึกษาควรจัดทำคู่มือการเป็นกรรมการและนำเสนอผ่านสื่อ การปฐมนิเทศ หรือการฝึกอบรมสำหรับกรรมการที่ยังขาดประสบการณ์ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกรรมการด้วย
2. การร่วมจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 57 กำหนดให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจะร่วมสนับสนุนการศึกษาได้โดยร่วมกันให้ความรู้หรือประสบการณ์ในฐานะทรัพยากรบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือสนับสนุนโดยการบริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นด้วย
4. การร่วมกำกับดูแล 
เนื่องจากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ๆ เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำหน้าที่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ สถานศึกษาต้องมีระบบประกันคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมเรียกร้องคุณภาพทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน ทักท้วง ตักเตือน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมประเมินคุณภาพของบุคคลและสถานศึกษา รวมทั้งร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย
            หากบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงานนอกสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและฐานะผู้ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาแล้ว ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าสถานศึกษานั้นจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในมาตรา 42 ถือ ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วย สมอง ด้วยกาย และด้วยใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนการส อน เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้(สมศักดิ์, 2543) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความ สามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า“ส่ง เสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดย ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นี้ เองทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็เป็นประเด็นสำคัญ ประเด็นหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (วิภาภรณ์, 2543)

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)

          หลักการพื้นฐานของแนวคิด "ผู้เรียนเป็นสำคัญ (ไพฑูรย์, 2549) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการ ศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนว ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน เองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบดั้งเดิมทั่วไป คือ
1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือผู้สนับสนุน (supporter) และเป็นแหล่งความรู้(resource person) ของ ผู้เรียน ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้า รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เนื้อหา วิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน(เทคนิคการสอน)
3. การ เรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ คำถามและคำตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการบรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
4. สัมพันธ ภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสิรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของ ผู้เรียน
5. ครู คือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการ เรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
6. ผู้ เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น
7. การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกันไปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กันเมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ดัง นั้น พวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง ผลที่ได้คือ ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิธีสอนตามเเนวปฎิรูปการศึกษา

วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          เป็นสื่อสำหรับครูยุคใหม่ซึ่งเป็นครูคุณภาพได้เห็นแนวทางการนำวิธีสอนที่หลากหลายไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ได้มาตรฐานตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก เเละหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอวิธีสอนที่หลากหลายซึ่งครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน

การปฎิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผูเรียนเป็นสำคัญ

ปัญหาการปฏิรูปการเรียนรู้  สิ่งที่บ่งชี้ว่าต้องปฏิรูปการเรียนรู้  คือ
         1.       ห้องเรียน  (Class Room)  เพราะห้องเรียนเป็นกรอบในการปกครอง
ควบคุมดูแลนักเรียน  ให้อยู่ในระเบียบวินัย  เพื่อจะได้เรียนวิชาความรู้  ทั้ง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาเกิดการเรียนรู้  เพราะบรรยากาศการเรียนรู้ที่อึดอัด  ห้องเรียนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย  กี่ปีผ่านไปห้องเรียนก็ยังอยู่ในสภาพเก่า ๆ เดิม ๆ ไม่ได้เอื้อให้เกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้  หรือส่งเสริมให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้  อยู่อย่างเป็นสุข  ได้อย่างเหมาะสม
          
         2.       สื่อนวัตกรรม  (Innovation)  ที่ผ่านมาการผลิตสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาได้รับความเอาใจใส่  แต่บางครั้งยังใช้สื่อไม่หลากหลาย  ไม่ทันสมัย  ไม่น่าสนใจ  ไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้  เช่น  หนังสือหรือตำราเก่า ๆ สื่อเทคโนโลยีที่ล้าสมัย  ใช้ยาก   
         
          3.       วิธีสอน  (Method)  ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่จัดให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ได้เน้นให้เกิดการเรียนรู้  การคิดวิเคราะห์  แสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์  เช่น  เป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  ใฝ่หาคำตอบ  เพราะวิธีการสอนที่ใช้ยังเป็นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน  และขาดความเชื่อมโยงจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีทางการศึกษา 

          4.       ครู  (Teacher)  การปฏิรูปการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหรือไม่   ครูถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากที่สุด  เพราะครูยังยึดมั่นตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้มากที่สุด  ถูกที่สุด  ไม่ยอมปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ยังใช้วิธีถ่ายทอดความรู้แบบเดิม ๆ  ล้าสมัย  ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น  และไม่สนใจที่จะพัฒนาตนเอง  ครูแบบนี้ยังมีอยู่จำนวนมากในระบบโรงเรียน

          5.       กระบวนการเรียนรู้  (Process  Learning)  ไม่น่าสนใจ  น่าเบื่อหน่าย เพราะครูยังยึดเกณฑ์เนื้อหา  ความรู้  การสอบ  คะแนน  เป็นตัวกำหนดหรือตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน  จึงทำให้เกิดความเครียด  ไม่มีความสุขในการเรียน  ไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครอง  กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมถ่ายทอดมากกว่าการปฏิบัติ  การฝึกหัด  การอบรมบ่มนิสัย  ผู้เรียนเคยชินกับการนั่งนิ่ง  เงียบ  ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ไม่กล้าแสดงออก  ขาดความคล่องตัวในการที่จะฝึกคิดวิเคราะห์  คิดแบบวิทยาศาสตร์  ไม่รับรู้การปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ  แต่ไวต่อการรับวัฒนธรรมของต่างชาติ    

          6.       โรงเรียน  (School)  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในระบบ  ข้อบังคับ  มีระเบียบแบบแผน  มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย  มีการบังคับบัญชาหลายระดับ  บางครั้งงานพิเศษมีมากมาย  ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำ  จนทำให้เสียหายต่อกิจกรรมการเรียนรู้  โรงเรียนจะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ สักฉบับ  ต้องเสียครูหรือครูต้องทิ้งห้องเรียนไปเกือบตลอดวัน  แล้วอย่างนี้เด็กนักเรียนจะเรียนเก่งได้อย่างไร

          7.       ผู้บริหารสถานศึกษา  (Head of school)  ในสถานศึกษาบางแห่งผู้บริหารจะเป็นตัวปัญหาที่ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ  เพราะผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ  ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ  ขาดประสบการณ์  หรืออาจเป็นเพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง  ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่สามารถครองตน  ครองคน  ครองงานได้  จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารและปฏิรูปการเรียนรู้   
          
          ปัญหาเหล่านี้มีแนวทางในการแก้ไข  แต่ต้องอาศัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่จะร่วมมือร่วมใจกันหาแนวทางในการช่วยปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  ช่วยลูกหลานเยาวชนซึ่งเป็นผู้เรียนได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งทางความคิด  สติปัญญา  สังคม  อารมณ์และจิตใจ  หาทางช่วยเหลือปลดปล่อยความทุกข์ของผู้เรียนจากการเรียนรู้  ให้เขาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ภายใต้ความคิดความเชื่อที่ว่า  นักเรียนสำคัญที่สุด  หรือ  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพราะเขาเหล่านี้คือผู้ที่จะพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต  ในโลกยุคโลกาภิวัตน์และไร้พรมแดน