การเลือกสื่อและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional
Media)
สื่อ (Media)
หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดหรือนำความรู้ในลักษณะต่าง ๆ
จากผู้ส่งไปยังผู้รับ
ให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกัน
ในการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
(Instruction
Media)ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน
เช่น สื่อการสอน(Instructional Media or Teaclning Media) สื่อการศึกษา
(Educational media) อุปกรณ์ช่วยสอน(Teaching Aids) เป็นต้น ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง
ๆมารวมกันว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational) ซึ่งหมายถึง
การนำเอาวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน
1. เพื่อให้ประสบการณ์ตรง (Direct
Experience) และเป็นจริงแก่นักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนเรียนได้โดยง่าย
และสะดวกขึ้น
3. เพื่อเร้านักเรียนให้มีความสนใจในบทเรียนอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอน
และตลอดเวลา
4.
เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะความสามารถ
เนื่องจากได้เรียนรู้ด้วยการลงมือทดลองและฝึกปฏิบัติ (Learning
by doing)
6.
เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกทางความคิด
และการแสดงบทบาทอย่างสมควรและโดยสมเหตุสมผลตามแนวทางที่ดีและเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม
7.
เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
8.
เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
9. เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี (interaction)
ระหว่างนักเรียนครู
10.เพื่อให้ประหยัดเวลา วัสดุ อุปกรณ์
ค่าใช้จ่าย และบุคลากร ในขณะเดียวกันทำให้นักเรียนจำนวน
มากเกิดการเรียนรู้อย่างคุ้มค่า ภายใต้สถานการณ์ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างเดียวกัน
การเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะกับวัตถุประสงค์
ในการพิจารณาเลือกใช้หรือสร้างสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในขั้นต้นจะต้องพิจารณาเป้าหมายของวัตถุประสงค์ของบทเรียนเป็นหลัก
โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของวัตถุประสงค์นั้นๆ ว่ามีจุดสำคัญอะไรควรสื่อความหมายลักษณะใด
จากนั้นจึงเลือกลักษณะของสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของวัตถุประสงค์นั้น
โดยพิจารณาเลือกเรียงลำดับจากสิ่งที่เป็นนามธรรม (Abstract) ไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม(Concrete)
หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด จำเป็นจะต้องมีจุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม
ซึ่งหลักการเลือกสื่อการสอนมี ดังนี้
1.
สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย
น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี
เป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น
ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้
มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5.
ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจน และเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป
หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลา และการลงทุน
หลักการใช้สื่อการสอน
1. เตรียมตัวผู้สอน
เป็นการเตรียมความพร้อมของตัวผู้สอนในการใช้สื่อการสอน
โดยการทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีในสื่อ ขั้นตอน และวิธีการใช้สื่อ เป็นต้น
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่
ห้องเรียน ห้อง Lab วัสดุอุปกรณ์
เครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
3. เตรียมตัวผู้เรียน
เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน อาจมีการทดสอบ มีการอธิบายวิธีการใช้สื่อ อุปกรณ์
เครื่องมือต่างๆบอกวัตถุประสงค์ แนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาในสื่อนั้นๆ
เป็นต้น
4.
การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการ ตามที่ได้เตรียมไว้แล้ว
และควบคุมการนำเสนอสื่อ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
5. การติดตามผล ( Follow
Up ) หลังจากการใช้สื่อการสอนแล้ว
ควรมีการติดตามผลเพื่อเป็นการทดสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้
จากสื่อที่นำเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น การให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย
ทำรายงาน เป็นต้น เพื่อผู้สอนจะได้ทราบจุดบกพร่อง สามารถ
นำมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการสอนในครั้งต่อไป
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน
หรือจะใช้ทุกขั้นตอนก็ได้ ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้น
สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ
หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน
ยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น
เช่น ภาพ บัตรคำ เป็นต้น
2.
ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นที่จะให้ความรู้
เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา และวิธีการสอน
ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
การใช้สื่อในขั้นนี้
จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น สไลด์
แผนภูมิ วีดิทัศน์ เป็นต้น
3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัด
โดยการลงมือ ฝึกปฏิบัติเอง
สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด
โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรปัญหา สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น
4. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ
ที่ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ
สื่อที่สรุปจึงควร ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผู้เรียน
เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด
และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้
เทคนิคการใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอน
ย่อมจะมีเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ลักษณะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท
กลุ่มผู้เรียน ผู้สอน สถานที่ ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือ
ประกอบตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นต้น
แต่หลักการสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอก็คือ “เงื่อนไข
การเรียนรู้” คินเตอร์
ได้ให้ข้อเสนอแนะในการใช้สื่อการเรียนการสอนไว้ ดังต่อไปนี้
1.ไม่มีวิธีการสอนหรือวัสดุประกอบการสอนชนิดใด
ที่จะสามารถใช้กับผู้เรียนและบทเรียนทั่วไปได้
วิธีสอนและวัสดุประกอบการสอนแต่ละประเภทย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของมันเอง
2.ในบทเรียนหนึ่ง ๆ
ไม่ควรใช้สื่อการเรียนการสอนมากเกินไป ควรใช้เพียงแต่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ในบางครั้งก็ไม่ควรใช้สื่ออย่างเดียวตลอด
3.สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ควรจะต้องสอดคล้องกับบทเรียนและกระบวนการเรียนการสอน
4.สื่อการเรียนการสอนควรสร้างให้เกิดโอกาสที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเตรียมและการใช้
อันก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่ลืมง่าย
5.ก่อนใช้สื่อการเรียนการสอน
ผู้สอนควรทดลองใช้ก่อนเพื่อความแน่ใจว่าจะใช้ได้ถูกต้อง และ
มีประสิทธิภาพนอกจากนั้นยังต้องจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือประกอบให้พร้อมทุกอย่าง
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอนเท่าที่พบเห็น
พอสรุปเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้คือ
1.กระดานดำ (Chalk
Boards)
2.หนังสือ ตำราเรียน/ใบเนื้อหาและใบงาน (Book
or text/Information and Worksheets)
3.แผ่นภาพ (Wall
Charts)
4.แผ่นใส (Overhead
Transparencies)/สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Slide)
5.โมเดลพลาสติก (Overhead
Plastic Models)
6.ภาพสไลด์และแผ่นภาพยนตร์ (Slide
Series and Filmstrips)
7.แถบบันทึกเสียง (Audiotape
Recordings)
8.แถบวิดีทัศน์/แผ่นวิดีทัศน์ (Videotape
Recordings and Videodiscs)
9.หุ่นจำลอง (Models)
10.อุปกรณ์ทดลอง/สาธิต (Experimental/Demonstration
Sets)
11.ของจริง (Real
Objects)
12.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เป็นต้น
สื่อ e-Learning
e-Learning เป็นการนำส่งบทเรียนเพื่อการศึกษา
และฝึกอบรม โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อินทราเน็ต โดยหลักแล้ว e-Learning เป็นการศึกษาทางไกลวิธีหนึ่ง
ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาวัสดุการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์จากเว็บไซต์หรือซีดี
ซึ่งผู้สอนเสริมและผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันโดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือการใช้บอร์ดวิเคราะห์ร่วมกัน
e-Learning จึงสามารถใช้เป็นวิธีการหลักในการนำส่งบทเรียนเพื่อการฝึกอบรมหรือใช้ควบคู่กับการฝึกอบรมปกติในชั้นเรียน
วัสดุการเรียน (Learning
Materials)
วัสดุการเรียน (Learning
Materials) หมายถึง บทเรียน สื่อการเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน
แบบทดสอบ การตรวจ
ปรับและกระบวนการเรียนรู้อื่น ๆ ที่นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนที่กำหนดไว้
ซึ่งนำเสนอในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)
จำแนกออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ (Web
Based lnstruction) หมายถึง
บทเรียนสำเร็จรูปที่นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์หรือระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่าย
อินทราเน็ต ได้แก่ WBI
(Web Based lnstruction), WBT (Web Based Training),IBI (lnternet Based
lnstruction), NBI (Net Based lnstruction)หรือบทเรียนที่มีชื่ออื่นๆ
เพื่อใช้ในการศึกษาด้วยตนอง
2. สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Slide) หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้นำเสนอข้อมูล
ต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอน เช่น PowerPoint
Slide หรือ Presentation Files
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
หมายถึง หนังสือ ที่นำเสนอผ่านจอภาพของเรื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง
ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้แนวความคิดของการนำเสนอหนังสือทั่ว ๆ ไป
4. เอกสารประกอบการบรรยายอิเล็กทรอนิกส์
(e-Lecture
Notes) หมายถึง เอกสารประกอบ
การสอน หรือเอกสารประกอบการสอน
หรือเอกสารคำสอนที่ผู้สอนใช้เพื่อประกอบการสอนผู้เรียน
ซึ่งอยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
Document
Files, Text Files และ PDF Files
5. ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวและเสียงดิจิตอล (Video
File and Digital Sound) หมายถึง ภาพ
เคลื่อนไหว และเสียงที่นำเสนอผ่าน
คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นวัสดุประการศึกษาหรือการฝึกอบรม
เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะของมัลติมีเดีย
6. เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย
(Hypertext
and Hypermedia Document) หมายถึง ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ในรูป ของ HTML
Files ซึ่งนำเสนอผ่านทางเว็บเบราเซอร์ ประกอบด้วย
ข้อความ ภาพ และการเชื่อมโยง (Link)
ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก
วัสดุการเรียนทั้ง 6 ประเภทดังกล่าว
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บนับว่ามีความสำคัญที่สุด
ต่อการเรียนรู้ในระบบ e-Learning
เนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้นำเสนอเนื้อหาสาระแก่ผู้เรียนโดยตรงบทเรียน
คอมพิวเตอร์เว็บจึงมีบทบาทต่อการศึกษาและการฝึกอบรมในการเรียนรู้
e-Learning
เป็นอย่างมาก จึงทำให้
บางคนคิดว่าการศึกษาด้วยตนเองผ่านบทเรียน
WBI
หรือ WBT ก็คือ e-Learning ซึ่งไม่น่าจะเป็นคำตอบ
ที่ถูกต้องนัก
เนื่องจากคำตอบที่แท้จริงนั้น e-Learning lnc แห่งเยอรมันนี
ได้สรุปไว้ ค่อนข้างชัดเจนว่า “e-Learning is the solution of the next
education” การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีการตรวจปรับทุกขั้นตอน
เพื่อให้ได้มาซึ่งบทเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การศึกษาและการฝึกอบรมระบบ e-Learning
มีคุณภาพตามไปด้วย
ความแตกต่างระหว่างบทเรียน CAI
กับบทเรียน WBI
บทเรียน WBI เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่นำเสนอ โดยใช้เว็บเบราเซอร์ผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตภายในองค์กร
โดยพื้นฐานแล้วจะไม่แตกต่าง
กับบทเรียนที่นำเสนอในรูปของ CD-ROM
Based System เช่น บทเรียน CAI ที่ยึดหลักการ
4 ls เช่นเดียวกัน
ได้แก่
1) lnformation
คือ ความเป็นสารสนเทศ
2) interactive คือ
การปฏิสัมพันธ์
3) lndividualization คือการศึกษาตนเอง และ
4) immediate Feedback คือ การตอบสนองโดยทันที
สำหรับส่วนที่แตกต่างของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ ก็คือ
การใช้คุณสมบัติและเทคโนโลยีของเว็บเบราเซอร์นำเสนอส่วนต่างๆ ได้แก่ส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
การสืบท่องข้อมูล และส่วนของการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ เนื่องจากบทเรียนWBI ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาทางไกลมากกว่าการใช้ในชั้นเรียน
จึงมีการใช้ส่วนบริการต่างๆบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เอื้อ
ประโยชน์แก่ผู้เรียนแตกต่างจากบทเรียน CAI ที่อาศัยผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการเรียนอย่างไรก็ตามบทเรียน CAI
ก็สามารถพัฒนาให้เป็นบทเรียน WBI ได้เช่นกัน
โดยการเพิ่มเติมส่วนสนับสนุน
กระบวนการเรียนรู้เข้าไปและนำเสนอผ่านเว็บเบราเซอร์ก็จะกลายเป็นบทเรียน WBIโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันความสามารถของระบบนิพนธ์บทเรียน
(Authonng
System) สามารถนำเสนอ
บทเรียนผ่านเบราเซอร์ได้
จึงไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการพัฒนาบทเรียน CAI ให้เป็นบทเรียน
WBI
ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียน
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2546: 188)
อธิบายถึงประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียนไว้ ดังนี้
1.เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ
เนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาสั้น
และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.ช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับนักเรียน
ทำให้เกิดความสนุกและไม่เบื่อหน่ายการเรียน
3.ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกัน
และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
4.ช่วยให้นักเรียนไดมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างนักเรียนด้วยกันเองและกับครู
5.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
และช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
6.ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
โดยจัดการให้มีการใช้สื่อในการเรียนการสอนรายบุคคล
ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครู
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2546: 188) กล่าวถึง
ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครู ดังนี้
1.ช่วยให้บรรยากาศในการเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น
ทำให้ครูมีความสนุกสนานและมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มมากขึ้น
2.ช่วยแบ่งเบาภาระของครูในด้านการเตรียมเนื้อหา
เพราะบางครั้งอาจให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
3.เป็นการกระตุ้นให้ครูตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ
เพื่อใช้เป็นสื่อการอสน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ
เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
สื่อในยุคปัจจุบัน
กิดานันท์ มลิทอง (2544: 2) กล่าวว่า
รูปแบบการศึกษาในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
จากการเรียนนี้จึงต้องพัฒนาในห้องเรียนไปสู่การเรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่และการศึกษาทางไกล
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการพัฒนาสื่อการสอนโดยการนำสื่อเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น
1.การใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายทอดการสอนจากครูคนเดียวไปยังนักเรียนจำนวนมากที่อยู่ในห้องเรียนต่างๆ
2.การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์และเครื่องแอลซีดีถ่ายทอดเนื้อหาและภาพจากวัสดุขนาดเล็กให้ฉายขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ชมได้อย่างชัดเจนทั่วถึง
3.การใช้เครื่องแอลซีดีถ่ายทอดข้อมูลจากคอมพิวเตอร์บนจอภาพ
4.การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนและฝึกอบรมในรูปแบบเว็บเพื่อการศึกษา
5.การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอนและฝึกอบรม
รวมถึงการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก
6.การใช้ดาวเทียมถ่ายทอดการสอนจากสถาบันการศึกษาหนึ่งไปยังสถาบันต่างๆ
ที่อยู่ห่างไกล
7.การวางระบบแลน (local
area network) เพื่อสร้างเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษาในการติดต่อและใช้ทรัพยากรร่วมกัน
8.การพัฒนาระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาทางไกลในรูปแบบการสื่อสาร
2 ทางในลักษณะการประชุมทางไกล (teleconference)
ประเภทของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีหลายประเภท
และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2550:
71-72) จำแนกประเภทของสื่อได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.สื่อสิ่งพิมพ์
มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง เช่น หนังสือเรียน
คู่มือครู แผนการเรียนรู้ หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบฝึกกิจกรรม
ใบงาน ใบความรู้ ฯลฯ และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น
วารสาร นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว โปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นภาพ เป็นต้น
2.สื่อบุคคล หมายถึง ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้
แนวคิด และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ
โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน
สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา
คนทำอาหาร หรือตัวนักเรียนเอง
หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
3.สื่อวัสดุ
เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง
โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง เป็นต้น
3.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย
เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง ซีดีรอม แผ่นดิสก์ เป็นต้น
4.สื่ออุปกรณ์ หมายถึง
สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน
ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น
เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
5.สื่อบริบท
เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ สภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น
ๆ เช่น ห้องสมุด หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต เช่น
พืชผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ
หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว
ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น
6.สื่อกิจกรรม เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน
ได้แก่ การ แสดงละคร บทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ
การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน
สรุปในสัปดาห์นี้
PowerPoint
สรุปในสัปดาห์นี้
PowerPoint
บรรณานุกรม
ณรงค์ กาณจนะ.
ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
(สืบค้นเมื่อ : 12 ธันวาคม 2558).
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา(CARD).
หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
(สืบค้นเมื่อ : 12 ธันวาคม 2558).
สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สื่อการเรียนการสอน.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.stjohn.ac.th/polytechnic/stpoly/rbm/file_ar/54016.pdf.
(สืบค้นเมื่อ : 12 ธันวาคม 2558).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น