วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

การเขียนแผนการจัดการสอน



แผนการจัดการเรียนรู้เป็นผลงานการปฏิบัติงานของครูที่ครูทุกคนต้องมี   และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ตนรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวัง  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละรายวิชาครูต้องศึกษา   ค้นคว้า  รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบ  มีขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ                 ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย    ช่วงชั้นที่ ๔   ได้ศึกษา  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชาที่ได้รับมอบหมายในการสอนแต่ละปี   และได้ปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง   มีผลงานเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูและผู้บริหารทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนผลสำเร็จ
                ๑.  มีแผนการจัดการเรียนรู้ใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
                ๒.  สามารถใช้เป็นแนวทางนิเทศการจัดทำแผนการเรียนรู้แก่ครูในโรงเรียน

วิธีการ/กิจกรรม
               ๑.  ศึกษารูปแบบ   องค์ประกอบ ขั้นตอน และตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจน
              ๒.  ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา   เกี่ยวกับ คุณภาพผู้เรียน     สาระ   มาตรฐานช่วงชั้น  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   สาระการเรียนรู้   และการวัดผลประเมินผล
              ๓. ดำเนินการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้   โดย 
                       ๑)   ยกร่างแผนการจัดการเรียนรู้ตามรายวิชาที่สอน และตรวจสอบความถูกต้องด้านขั้นตอน   องค์ประกอบ  ด้วยตนเอง   ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๑ 
                       ๒)  นำยกร่างฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑  ไปให้หัวหน้ากลุ่มสาระตรวจสอบ  นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 


                        ๓)  จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนรู้  และนำไปใช้สอนจริงในห้องเรียน   นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงพัฒนา 

                        องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
                       ๑.   สาระสำคัญ 
                       ๒.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                        ๓.  สาระการเรียนรู้ 
                       ๔.  กิจกรรมการเรียนรู้ 
    ขั้นนำ  ใช้  คำถามสำคัญเป็นการกระตุ้นผู้เรียน
   ขั้นสอน   เน้นการลงมือฝึกปฏิบัติ จริง   กระบวนการกลุ่ม  นักเรียนมี ชิ้นงานที่เกิดจากการปฏิบัติ มีการประเมินการเรียนรู้  ก่อนเรียน  ระหว่างเรียนและหลังเรียน
 ขั้นสรุป    นักเรียนได้สรุปองค์ความรู้และตอบคำถามสำคัญที่ครูต้องการ ให้เกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                        ๕.  สื่อและแหล่งเรียนรู้ 
                        ๖.  กระบวนการวัดผลประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น