ความหมายหลักการเรียนรู้ ลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ ผู้เรียนที่พึงประสงค์ คือ “ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข”
กระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ คือกระบวนการทางปัญญา ที่พัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข บูรณาการเนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทันสมัย เน้นกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ตามสภาพจริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างไกล เป็นกระบวนการที่มีทางเลือกและมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย น่าสนใจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู ละผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการวัดประเมินผล ที่มุ่งพัฒนา "คน" และ "ชีวิต" ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ ใครก็ตามที่เป็นคนสำคัญของเรา เราย่อมมีความรักความปรารถนาดี ให้แก่เขา จะคิดจะทำอะไร ก็มักจะคิดถึงเขาก่อนคนอื่น และคิดถึงประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
หลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ผู้เรียนรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
- เนื้อหาตรงตามความถนัด ความต้องการ และเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
- ผู้เรียนกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข
- ผู้เรียน ครู เพื่อน มีสัมพันธภาพที่ดี
- ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child center)
รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่CIPPA MODEL
C : Construct ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I : Interaction ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
P : Participation ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
P : Process / Product ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กันไปกับผลงาน
A : Application ให้ผู้เรียนนำความรู้ประประยุกต์ใช้
ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ด้านผู้เรียน - ประสบการณ์ตรง สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ทำกิจกรรมและเปลี่ยนความรู้จากกลุ่ม
- ฝึกคิด สร้างสรรค์ แสดงออก มีเหตุผล
- ฝึกค้น รวบรวมข้อมูล หาคำตอบ แก้ปัญหาและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
- เลือกทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ อย่างมีความสุข
- ฝึกตนเองให้มีวินัย มีความรับผิดชอบในการทำงาน
- ฝึกประเมินและปรับปรุงตนเอง และยอมรับผู้อื่น สนใจใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ด้านครู - เตรียมทั้งเนื้อหาและวิธีการ - จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
- ใส่ใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล - จัดกิจกรรมให้นัดเรียนคิด ฝึกปรับปรุงตนเอง
และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้จากกลุ่ม
- ใช้สื่อการสอน ใช้แหล่งเรียนรู้ ชีวิตจริง - ประเมินอย่างต่อเนื่อง
3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
3.1 ความหมายการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนที่ใช้วิธีเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงกับเรื่องที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การสอนที่เชื่อมโยง วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคม ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ในหัวข้อเรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.2 ข้อดีของการสอนแบบบูรณาการ
1. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ดีกว่า 2. ผู้เรียนสามารถค้นหาความรู้ได้เร็วกว่า
3. ผู้เรียนมีความรู้ที่ลึกซึ้งกว้างขวางกว่า เพราะเรียนจากประสบการณ์ที่หลากหลาย
4. ผู้เรียนได้รีบการหล่อหลอมเจตคติที่ดี 5. ช่วยเพิ่มคุณค่าเวลาในการเรียนการสอน
3.3 หลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ผู้เรียนทำงานเป็นทีม
3. เรียนจากประสบการณ์ตรง 4. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก
5. เน้นปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ดีงาม
3.4 การเรียนการการสอนแบบบูรณาการ
1. เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด 2. ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติจริง 4. เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
5. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม 6. พัฒนาครบทุกด้าน
3.5 รูปแบบการเรียนการการสอนแบบบูรณาการ
1. แบบหลอมรวม (Infusion ) เป็นการนำเนื้อหาความรู้จากวิชาต่าง ๆ มารวมกับวิชาหนึ่งเป็นเนื้อหาเดียวกัน และสอนโดยครูคนเดียว
2. แบบขนาน (Parallrel ) กำหนดหัวเรื่อง / ปัญหา / ความคิดรวบยอด โดยครูแต่ละวิชา จะกำหนดเนื้อหาที่สำคัญกับหัวเรื่อง และดำเนินการสอนแต่ละวิชา
3. แบบสหวิทยาการ(Interdisciplinary)ครูแต่ละวิชา และผู้เรียนร่วมกันกำหนดหัวเรื่อง เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ จุดเด่นของวิธีนี้ คือ เรียนรู้ลักษณะเป็นโครงงาน
4. แบบโครงการ หรือ แบบข้ามวิชา (Transdis elplinary) ครูแต่ละวิชา ผู้เรียน ร่วมกันกำหนดหัวเรื่อง เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหัวเรื่อง จุดเด่นของวิธีนี้ คือ สอนร่วมกันเป็นทีม
3.6 ขั้นตอนการสร้างแบบเรียนแบบบูรณาการ
1. กำหนดหัวเรื่องที่จะสอน (Them / concept / Problem) 2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ดำเนินการเรียนการสอน 5. ประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น