เนื้อหาแต่ละสัปดาห์
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3.
สัปดาห์ที่ 4.
สัปดาห์ที่ 5.
สัปดาห์ที่ 6.
สัปดาห์ที่ 7.
สัปดาห์ที่ 8.
สัปดาห์ที่ 9.
สัปดาห์ที่ 10.
สัปดาหืที่ 11.
สัปดาหืที่ 12.
สัปดาห์ที่ 13.
สัปดาห์ที่ 14.
สัปดาห์ที่ 15.
สัปดาห์ที่ 16.
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561
ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์สู่การสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้สร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎี
ในกลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งนิยามการเรียนรู้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็จะเน้นองค์ประกอบที่มี
ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ส่วนทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยมที่นิยามการเรียนรู้ว่า เป็นกระบวนการคิดหรือ
การพัฒนาทางสติปัญญา ก็จะเน้นที่กระบวนการคิดอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นในการน าเสนอทฤษฎีการ
เรียนรู้ต่าง ๆ ที่คัดสรรว่ามีบทบาทต่อการประยุกต์สู่การออกแบบการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็
จะกล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้ กฎหรือหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้ของทฤษฎีนั้นและการ
ประยุกต์สู่การออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (
Thorndike’s connectionism)
ธอร์นไดค์ (
Thorndike)
เป็นผู้ค้นพบกฎการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยการกระทำอย่างมีเป้าหมาย จากผลงานการทดลองจับแมวใส่กรงที่มีสลักประตูปิดไว้ให้แมวหาทางออกจากกรงเพื่อกินอาหาร โดยแมวจะต้องหาทางถอดสลักประตูให้ได้จึงจะได้กินอาหาร ซึ่งจากการทดลองพบว่า ในระยะแรกแมวใช้วิธีลองถูกลองผิด (
trial and error)
และค้นพบวิธีถอดสลักประตูโดยบังเอิญทำให้ประตูเปิดและออกมากินอาหารได้ การทดลองในครั้งต่อ ๆ มา แมวใช้เวลา
น้อยลงในการหาทางออกมากินอาหารได้ การทดลองนี้ทำให้สามารถตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญดังนี้
1)
กฎแห่งผล (
law of effect)
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดที่ได้รับผลที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจ ผู้เรียนจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีกหรือเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าไม่ได้รับผลที่พึงพอใจผู้เรียนก็จะ
เลิกทำพฤติกรรมนั้น
2)
กฎแห่งความพร้อม (
law of readiness)
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนอยู่ในภาวะที่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การบังคับหรือฝืนใจจะทำให้หงุดหงิดไม่เกิดการเรียนรู้
3)
กฎแห่งการฝึกหัด (
law of exercise)
การเรียนรู้จะคงทน หรือติดทนนานถ้าได้รับการฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์เน้นความเชื่อมโยงของสิ่งเร้าและการตอบสนอง หากผลที่ตามมาหลังปฎิบัติเป็นสิ่งที่น่าพอใจความเชื่อมโยงของสิ่งเร้าและการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นการประยุกต์สู่การสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ประยุกต์ไปใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1)
การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจงซึ่งทำให้
สามารถวัดผลประเมินผลได้ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ โดยสังเกตจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และแจ้งให้
ผู้เรียนทราบพฤติกรรมที่คาดหวัง
2)
ก่อนเรียนควรสำรวจว่าผู้เรียนมีความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจและมีความรู้พื้นฐานเดิมที่พร้อมในการเรียนรู้หรือไม่ เพื่อหาแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน
3)
ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ การเผชิญ
สถานการณ์ปัญหาซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองถูกลองผิด เพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้
ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้
4)
ควรศึกษาว่าอะไรคือรางวัลหรือผลที่ผู้เรียนพึงพอใจ เพื่อใช้เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนอยาก
เรียนรู้หรือแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
5)
ควรให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนสิ่งที่เรียนรู้แล้วอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะในสิ่งนั้น
สกินเนอร์ (
Skinner, cited in Gredler, 1997, p.69)
เป็นผู้ที่ให้นิยามการเรียนรู้ว่า คือการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นผลอันเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ
ของสกินเนอร์ เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อธิบายการเรียนรู้ว่าเกิดจากการวางเงื่อนไขของสิ่งเร้าซึ่งผู้เรียน
ต้องลงมือกระท าหรือปฏิบัติเพื่อหาทางแก้ปัญหาจึงจะได้รับผลที่พึงพอใจ ถ้ามีการเรียนรู้เกิดขึ้นจะสังเกต
ได้ว่ามีการตอบสนองเพิ่มขึ้น เมื่อไม่มีการเรียนรู้อัตราการตอบสนองจะลดลง การเรียนรู้จึงตีความว่าเป็น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเทียบได้กับการตอบสนองนั่นเอง การตอบสนองนั้นวัดได้จากอัตรา/ความถี่
ของการตอบสนอง ดังนั้นองค์ประกอบในการเรียนรู้ของสกินเนอร์จึงประกอบด้วย สิ่งเร้าที่มีการวาง
เงื่อนไข การตอบสนองของผู้เรียน และผลที่ตามมา (
Gredler, 1997,p.62)
สกินเนอร์ได้ทำการทดลองกับหนูและนกโดยการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการในลักษณะต่าง ๆ
ที่มีผลต่อพฤติกรรม โดยสกินเนอร์สนใจการเสริมแรง (
reinforcement)
ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม
ทำให้เกิดข้อสรุปสำคัในการเรียนรู้ว่า การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงมีแนวโน้มที่จะกระทำซ้ำ
อีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงมีแนวโน้มว่าความถี่ของการกระทำจะลดลงและหายไปในที่สุด
การเสริมแรงของสกินเนอร์ แบ่งได้
2
ประเภท ได้แก่ (
Gredler, 1997, pp. 74-79)
1)
การเสริมแรงแบบปฐมภูมิ (
primary reinforcement)
คือ สิ่งเร้าที่สามารถทำให้ความถี่
ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝน ซึ่งเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ เช่น อาหาร ที่อยู่
อาศัย เป็นต้น
2)
การเสริมแรงแบบวางเงื่อนไขหรือการเสริมแรงทุติยภูมิ (
conditioned or secondary
reinforcement)
คือ สิ่งเร้าที่ทำให้พฤติกรรมเข้มแข็งขึ้น การเสริมแรงแบบวางเงื่อนไขแบ่งได้ ดังนี้
(1)
การเสริมแรงทางบวก (
positive reinforcement)
คือ การให้สิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดผล
ทางบวกแก่พฤติกรรม ทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้นหรือมีการผลิตซ้ำของพฤติกรรม เช่น การที่
ผู้เรียนส่งงานครบตามกำหนด เมื่อได้รับคำชมเชยจากผู้สอน ทำให้ผู้เรียนส่งงานครบตามกำหนดอีก
(2)
การเสริมแรงทางลบ (
negative reinforcement)
คือ การลดหรือการถอนสิ่งเร้าที่
ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงพอใจ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น เช่น เสียงดังและห้องเรียนที่ร้อนอบอ้าว
เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้นักเรียนหงุดหงิด ไม่สนใจเรียน เมื่อติดเครื่องปรับอากาศทำให้นักเรียนมีความตั้งใจ
เรียนมากขึ้น หรือ นักเรียนรีบออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงรถติดทำให้มาถึงโรงเรียนทันเวลา
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
PowerPoint 7
วิธีสอนตามเเนวปฎิรูปการศึกษา
วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เป็นสื่อสำหรับครูยุคใหม่ซึ่งเป็นครูคุณภาพได้เห็นแนวทางการนำวิธีสอนที่หลากหลายไปใช้ในการจัดกิจกรรมการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น